About TKK
Industrial Goods
Solutions
Quotation
Shop Industrial Products
News
Work with us
Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Contact Us
MOU

TKK จับมือ ศิริราช สร้างต้นแบบความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน ใช้ หุ่นยนต์และ AI แบ่งเบาภาระบุคลากรการแพทย์ ส่งมอบบริการทันสมัยให้คนไทย

วิกฤตโรคระบาดครั้งล่าสุดได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในส่วนของวงการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีการปรับเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น กอปรกับกระแสด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่มีไม่เพียงพอ ขณะที่บุคลากรที่ทำงานอยู่ก็ต้องแบกรับภาระงานที่หนักขึ้น ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง หุ่นยนต์และ AI รวมถึงระบบอัตโนมัติได้รับการนำมาปรับใช้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมทุกภาคส่วนของการให้บริการทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน

และแน่นอนว่าในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่ที่สุดในระดับประเทศอย่าง โรงพยาบาลศิริราช ก็ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งในช่วงวิกฤตโควิดและประสบปัญหาการขาดแคลนบุคการทางการแพทย์ ทำให้บุคลากรที่ทำงานอยู่ต้องแบกรับภาระงานที่ค่อนข้างหนัก ด้วยเหตุนี้ จึงทาง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลมหิดล จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ปรับเอา หุ่นยนต์และ AI มาใช้ เพื่อช่วยเสริมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมาตั้งแต่ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิดแล้ว

จนกระทั่งในวันนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลมหิดล ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะสานต่อให้เกิดการปรับใช้เทคโนโลยี หุ่นยนต์และ AI ในทางการแพทย์ และระบบสาธารณสุขอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมการให้บริการทุกด้านของโรงพยาบาลศิริราช นอกจากนั้น ยังนำสู่การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ ร่วมกันในอนาคตด้วย

ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เปิดที่มาและความสำคัญของการปรับเอา หุ่นยนต์ และ AI ระบบอัตโนมัติ มาใช้ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ในยุคดิจิทัลของ ศิริราช

ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของความร่วมมือครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นต้นแบบของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาวงการแพทย์และสาธารณสุขไทยว่า

“ในวันนี้ กล่าวได้ว่า ในแต่ละวันที่โรงพยาบาลศิริราช เรามีจำนวนคนไข้เข้ามารับบริการจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีหน้าที่หลักในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศ และแน่นอนที่สุด เรายังมีหน้าที่ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการทำวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งที่ผ่านมา ศิริราช ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในเจตนารมณ์ที่เราจะทำให้ศิริราชเป็นสถาบันหลักในการสร้างผลงานวิจัยทางการแพทย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย”

“ดังนั้น ในวันนี้ เราเชื่อมั่นว่าศิริราชจะไม่หยุดนิ่งในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อมาดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้น รวมถึงในการทำการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ นี่จึงทำให้เราต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤตโควิด ทำให้เราได้ปรับเอาเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ มาช่วยให้การบริการทางการแพทย์สะดวกขึ้น แม่นยำขึ้น ปลอดภัยขึ้น และผู้รับบริการก็มีความประทับใจมากขึ้น”

“ทั้งนี้ ที่กล่าวมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าศิริราชเรามีความเชี่ยวชาญและรู้ถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในการเข้ารับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะผู้ที่ต้องรับมือกับปัญหาคือบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด ขณะที่ ทาง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ก็มีความรู้ ความสามารถ ในการนำเสนอเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติ การปรับใช้หุ่นยนต์บริการ หรือ Service Robot รวมถึงการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์”

“ดังนั้น ผมมีความมั่นใจว่าการลงนามบันทึกข้อตกลงของทั้ง 2 องค์กรในวันนี้จะเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งจะสานต่อสู่การสร้างนวัตกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คน รวมทั้งเราสามารถที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากรในด้านต่างๆด้วยกัน ที่จะทำให้เกิดผลดี จนสร้างให้เกิดตัวอย่างของความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน”

รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมบริการและคุณค่าองค์กร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศิริราช กับความพร้อมในการ Transform การให้บริการทางแพทย์สู่ยุคดิจิทัลครบวงจร

ด้าน รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมบริการและคุณค่าองค์กร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวเสริมถึงความร่วมมือดีๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ว่า

“ในช่วงที่ผ่านมา มีผู้มาเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลศิริราช โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนขึ้นมาก รวมถึงความถี่ในการมาโรงพยาบาล ก็เพิ่มมากขึ้น ทว่า เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้แต่บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนที่มีผู้เข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด”

“เพราะฉะนั้นทางการแพทย์เราก็จะเกิดปัญหาในเรื่องของสมดุลของความต้องการระหว่างฝั่งดีมานด์ นั่นคือ ผู้ป่วยที่เดินทางมารักษาพยาบาล และฝั่งซัพพลาย นั่นคือ บุคลากรทางการแพทย์ และในเมื่อเราเพิ่มบุคลากรไม่ได้ ดังนั้นต้องมาคิดแล้วว่าแล้วจะทำอย่างไรให้บุคลากรทำงานได้สะดวกขึ้น และมีงานอะไรที่ไม่ต้องใช้ Human Touch หรืองานอะไรที่มีลักษณะทำซ้ำๆ งานที่ต้องอาศัยความจำ งานเหล่านี้เราสามารถใช้หุ่นยนต์ หรือ AI มาช่วยแบ่งเบาภาระงานลงได้ เช่น งานส่งเอกสาร หรืองานตอบคำถามที่อาจเป็นคำถามซ้ำจากผู้เข้ารับบริการ”

“ทั้งนี้ ทาง บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก็เป็นบริษัทชั้นนำที่มีความสามารถในเรื่องของออโตเมชั่น หุ่นยนต์ และ AI เราจึงได้มาร่วมมือกันระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ และในแต่ละวันโรงพยาบาลศิริราช ยังต้องทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยจำนวนมาก”

“ดังนั้น น่าจะเป็นการดี ที่เราจะนำจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่าย มาปรับใช้ในการพัฒนาฟังก์ชั่นของ AI ทางการแพทย์ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างสิ่งใหม่ๆ ที่สามารถนำไปต่อยอด ตอบโจทย์การทำงานของการแพทย์และสาธารณสุขไทยได้มากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มผลิตภาพของบุคลากรทางการแพทย์ และความถูกต้องแม่นยำได้อย่างเป็นรูปธรรม”

“ทั้งนี้ แน่นอนว่าถ้าทำได้เช่นนี้ บุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล ก็จะมีเวลาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น ในลักษณะ Hi tech และ Hi touch ที่เกิดขึ้นควบคู่กันไปอย่างกลมกลืน”

“โดยหลังจากได้ลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเกิดการปรับเอาหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ รวมทั้ง AI ไปปรับใช้ในหลายภาคส่วนงานของศิริราชอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ในการรับส่งยา เวชภัณฑ์ การส่งเอกสารต่างๆ ก็จะใช้หุ่นยนต์ในการรับส่งมากขึ้น ซึ่งมีข้อดีตรงที่หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตลอด ต่อเนื่อง ไม่มีความเหนื่อยล้าเหมือนมนุษย์”

“และแน่นอนว่าเมื่อมีการปรับเอาหุ่นยนต์มาใช้ ก็ย่อมลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้มีเวลาให้ผู้ป่วยมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการนำหุ่นยนต์ไปปรับใช้ในงานตอบคำถาม หรือ Greeting เวลาผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ ซึ่งหุ่นยนต์สามารถให้ข้อมูลและนำทางไปยังที่ต่างๆ ที่สำคัญได้”

“ในอนาคตเรายังได้วางแผนร่วมกันว่า จะพัฒนาหุ่นยนต์ร่วมกัน ให้เป็น หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล เช่น หุ่นยนต์ที่มีหน้าที่เดินตามพยาบาลเพื่อให้ข้อมูล คอยส่งของ หยิบจับ สิ่งของต่างๆ ที่ทำให้พยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วขึ้น ทำให้พยาบาลสามารถทำงานได้มากขึ้น ถูกต้อง แม่นยำกว่าเดิม”

“นอกจากนั้น ในวันนี้ ทาง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ยังได้มอบ License แพลตฟอร์ม Cira core ซึ่งถือว่าเป็นแพลตฟอร์ม Transformer อย่างหนึ่ง ที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่มีความรู้ในด้านการเขียน AI แต่สามารถใช้งานได้ โดยการสอนและป้อนคำสั่งให้ Cira core ทำงานแทน และตอบคำถามสำคัญ สร้างความเข้าใจให้กับผู้ป่วยแทนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีไม่เพียงพอ ซึ่งถ้าทำได้เช่นนี้ ย่อมเป็นการช่วยเพิ่มทักษะ ความสามารถให้บุคลากรทางการแพทย์ในด้าน AI ด้วย”

“เพราะต้องยอมรับว่า AI ในยุคนี้ เป็นเทคโนโลยีที่มาเปลี่ยนแปลงโลกอย่างแท้จริง และยังได้รับการพัฒนาให้ฉลาดมากขึ้น ทำให้ AIสามารถทำงานได้หลายอย่างทดแทนมนุษย์ได้ “

“อย่างในโรงพยาบาล ทุกวันนี้ เราสามารถให้หุ่นยนต์หรือระบบ AI ในการนำทางผู้ป่วยที่มาเข้ารับบริการว่า วันนี้จะมารับบริการในด้านใดบ้าง เมื่อมาแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง โดยหุ่นยนต์สามารถแนะนำผู้ป่วยได้ทันที และเมื่อได้รับข้อมูลของจำนวนผู้ป่วยมาก็จะรวบรวมส่งไปวิเคราะห์ได้ว่าจะเกิดคอขวด หรือ มีจำนวนผู้เข้ารับบริการมากในส่วนไหน เมื่อรู้แล้วก็สามารถจัดบุคลากรให้มารองรับกับปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ทันเวลา ทำให้การทำงานของทุกฝ่ายในโรงพยาบาลประสานกันได้ดีมากขึ้น รวมไปถึงนำ AI ไปใช้ในการบริหารจัดการจำนวนเตียง จำนวนคนไข้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย”

กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด

TKK พร้อมเดินหน้า จับมือศิริราช ส่ง หุ่นยนต์ AI ระบบอัตโนมัติ เปลี่ยนโฉมวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย

กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้กล่าวถึงความร่วมมือครั้งสำคัญกับการเป็นพันธมทิตรร่วมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐและโรงเรียนแพทย์อันดับหนึ่งของไทยว่า

“ความร่วมมือระหว่าง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันนี้ ถือเป็นความร่วมมือที่จะส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมทางการแพทย์ในด้านต่างๆ ให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม และความร่วมมือนี้ยังพร้อมขยายไปเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศด้วย”

“ทั้งนี้ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องของระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมและปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งที่ผ่านมา เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในภาคการแพทย์และสาธารณสุขไทยอย่างมา โดยเฉพาะในการปรับเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการขนถ่าย ยา อาหาร เวชภัณฑ์ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ตลอดจนแรงงานในภาคบริการก็ขาดแคลนอย่างมาก ทำให้แรงงานในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ และบุคลาการทางการแพทย์ทุกแขนง ต้องทำงานหันหนักมาก”

“ดังนั้น ในฐานะ ที่เราเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รวมถึงเป็นผู้ออกแบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ทางบริษัทสามารถเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริม และช่วยเหลือภาคการแพทย์และสาธารณสุขไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการต่อยอดและพัฒนาร่วมกัน และหลังจากที่ได้ลงนามความร่วมมือกับการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในวันนี้แล้ว ก็จะมีการนำแพลตฟอร์ม AI ปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงหุ่นยนต์บริการ มาใช้โดยการหาจุดเชื่อมโยงที่จะสานต่อสู่ผลงานวิจัยใหม่ๆ ได้ในอนาคต”

“ทั้งนี้ ก่อนมาถึงวันนี้ที่ได้ลงนามความร่วมมือกันระหว่าง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เราได้มีการนำหุ่นยนต์มาใช้ในสนามจริง คือ ในโรงพยาบาลศิริราช มาแล้วร่วม 1 ปี ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีโอกาสได้ใช้และทำงานร่วมกับหุ่นยนต์นี้”

“โดยที่ผ่านมา เราได้มีการนำหุ่นยนต์ไปใช้รับส่งยาในแผนกฉุกเฉิน ซึ่งแผนกนี้เป็นส่วนที่มีผู้ป่วยเข้ามารับบริการหนาแน่นมาก จากสถิติล่าสุดของโรงพยาบาลศิริราช พบว่า มีผู้ป่วยนอกมาใช้บริการในส่วนนี้มาถึง 8,000 ราย ต่อวัน”

“รวมถึงที่ผ่านมา เรายังได้นำไปใช้ในส่วนของ การแพทย์แผนไทย ที่มีผู้ป่วยเข้ารับบริการมากเช่นกัน ซึ่งในยุคนี้กลุ่มผู้ป่วยไม่ได้จำกัดอยู่แค่กลุ่มผู้สูงอายุ แต่คนในวัยทำงานที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม จนเกิดอาการเมื่อยล้า หรือเป็นอาการเครียด กดดัน ก็มาหาหมอในส่วนของแพทย์แผนไทยเช่นกัน”

“ดังนั้น ในส่วนของการให้บริการแพทย์แผนไทยในศิริราช หุ่นยนต์ก็เข้ามามีส่วนช่วยบุคลากรด้วยเช่นกัน นั่นคือ การรับส่งลูกประคบให้กับแพทย์ในเวลาตรวจรักษา ซึ่งเดิมมีการใช้บุคลากรเดินรับส่งลูกประคบ แต่เมื่อให้หุ่นยนต์มาทำแทน ก็จะมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์ ทำให้แพทย์มีเวลาในการใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากขึ้น มีการให้บริการที่ดีขึ้น ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้นกว่าเดิม”

“ทั้งนี้ เราไม่ได้หยุดแค่การปรับเอาหุ่นยนต์มาใช้ในการรับส่งเครื่องมือ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ต่างๆเท่านั้น แต่หุ่นยนต์สามารถทำหน้าที่ได้มากกว่านั้น ยิ่งถ้าเรานำหุ่นยนต์หรือระบบ Robotic มาปรับเข้ากับระบบ AI เพื่อให้การใช้งานเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น หลายส่วนของงานบริการทางการแพทย์ก็จะสามารถมาตอบโจทย์ให้กับประชาชนได้ โดยเฉพาะการทำให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งเราเชื่อมั่นว่านี่คือโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน”

“และในวันนี้ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ก็มีความยินดีที่จะมอบ License AI Platform เพื่อให้ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้นำไปใช้ โดยต่อไปทางทีเคเค ก็จะจัดการอบรมให้กับ นักศึกษาแพทย์ ที่ในยุคนี้นอกจากจะต้องมีความรู้ในด้านการวินิจฉัยโรคแล้ว ในการแพทย์องค์รวม นักศึกษาแพทย์ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับ AI ซึ่งจะมาทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ช่วยแพทย์ มาเสริมให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคหรืออาการได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ความร่วมมือในวันนี้จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน”

Everything  For Your Industrial Need, All in One Place
สนใจโซลูชั่น

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

MOU
October 13, 2023
TKK & TGI เซ็น MOU ประกาศความพร้อมเดินหน้า อุตสาหกรรมไทย เส้นชัยอยู่ที่ Industry 4.0 ทั้งระบบ
การเดินหน้ามาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) นับเป็นแรงหนุนสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศ พร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบาย BCG Model เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มคู่ไปกับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการลงทุนใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งต่างๆ ปัจจัยที่กล่าวมาเหล่านี้ล้วนทำงานอย่างสอดประสาน เพื่อเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาภาค อุตสาหกรรมไทย และขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมีนัยสำคัญ นี่คือพลวัตที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนตลอดปี 2566 ที่ผ่านมา
อ่านเพิ่มเติม
MOU
September 5, 2023
PATLITE เจ้าตลาด ‘อุปกรณ์ไฟสัญญาณเตือน’ อันดับ 1 ของโลก ประกาศความพร้อม จับมือ TKK Corporation เดินหน้าวางระบบ IIoT ในโรงงานไทย
อุปกรณ์ไฟสัญญาณเตือน เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เตือนภัยที่ทุกคนเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เพราะแทบทุกสถานที่จะมีการติดไฟสัญญาณเตือนเพื่อสร้างความปลอดภัยนี้ไว้ตลอด ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ตลาดอุปกรณ์ไฟสัญญาณเตือน หรือภาคผู้ผลิตอุปกรณ์นี้จึงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
อ่านเพิ่มเติม
MOU
July 31, 2023
TKK Corporation ประกาศความพร้อม เป็นตัวแทนให้บริการ cWallet แพลตฟอร์มจัดการ คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร เสริมแกร่งให้ภาคอุตสาหกรรมไทย
จากรายงาน Climate Change 2022 : Mitigation of Climate Change โดยคณะกรรมการ IPCC ระบุว่า ตั้งแต่ปี 1850 ถึงปี 2019 ทั่วโลกมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมประมาณ 2,400 จิกะตัน ซึ่งนับเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยปีละ 35 – 36 จิกะตัน และในปี 2021 ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 37.12 จิกะตัน เพิ่มขึ้น 5.3% จากปี 2020 หากต้องการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทั้งโลกสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกไม่เกินประมาณ 500 จิกะตัน
อ่านเพิ่มเติม